เมื่อวันที่ 3 ก.ค. 2561 ที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสเข้าร่วมสัมมนางานอนุสัญญาภาษีซ้อนโดยสมาคมนักธุรกิจไทยในกัมพูชา เนื่องจากเนื้อหาไม่ได้เป็นความลับ ผมจึงขออนุญาตนำมาให้นักธุรกิจไทยที่มีความสนใจในการลงทุนที่ประเทศกัมพูชามาได้อ่านกันครับ
อ่านบทความอื่น ๆ เกี่ยวกับประเทศกัมพูชา
2. มาชมงานแสดงสินค้า 1st THAILAND PRODUCTS EXPO 2018 ที่กรุงพนมเปญ
อนุสัญญาภาษีซ้อน (Double Tax Agreements (DTAs)
ภาษีซ้อน คือ การจัดเก็บภาษีจากเงินที่ได้มาใช้เป็นฐานคำนวณเสียภาษีมากกว่า 1 ครั้ง โดยเป็นภาษีที่ซ้อนระหว่างประเทศ กรณีที่เงินได้ถูกนำมาใช้เป็นฐานในการจัดเก็บภาษีบุคคลเดียวโดยรัฐมากกว่าหนึ่งรัฐ เพื่อการแก้ไขความซ้ำซ้อนของอำนาจรัฐในการจัดเก็บภาษีที่เกิดขึ้น จึงได้เกิดอนุสัญญาหรือความตกลงเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อน (Double Tax Agreement : DTA) ซึ่งรัฐจะมีการตกลงระหว่างกัน อันจะเป็นการกระตุ้นให้เกิดการลงทุนระหว่าง 2 ประเทศขึ้น
โดยอนุสัญญาภาษีซ้อนใช้กับเงินได้ (Income) 3 ประเภท คือ Personal income, Corporate income, และ Petroleum income จึงกล่าวได้ว่าอนุสัญญา DTA เป็นส่วนนึงของภาษีทางตรง
นอกจากนี้แล้วอนุสัญญาภาษีซ้อนมีเพื่อบรรเทาภาระภาษี (Tax Burden) หากไม่มีภาระดังกล่าวก็ไม่จำเป็นต้องใช้ คำว่าภาระภาษีในที่นี้คือผู้เสียภาษีต้องมีภาระทั้งกฎหมายภายใน (Revenue Code) และ อนุสัญญา(DTA) หากขาดกรณีใดไปกรณีหนึ่งจะไม่ถือว่ามีภาระภาษี ให้ยึดจำนวนภาษีที่ “เป็นคุณ” กับผู้เสียภาษี เช่น หากกฎหมายภายใน (Revenue Code) เก็บ 10% อนสุัญญา(DTA) เก็บ 15% จะให้ชำระภาษีที่ 10% นอกจากนี้หากพิจารณาแล้วให้กฎหมายภายใน (Revenue Code) มีสิทธิในการจัดเก็บก่อนอนุสัญญา (DTA)
เมื่อนำตารางเปรียบเทียบระหว่าง Withholding Taxes under LOT และ Withholding Taxes under DTA Cambodia Thailand จะพบว่าภายใต้ DTA นั้นมีอัตราภาษีที่ต่ำกว่า
ประเภทรายได้ | Withholding Taxes under LOT | Withholding Taxes under DTA |
เงินปันผล (Diviend) | 14% | 10% |
ดอกเบี้ย (Interest) | 14% | 10% , 15% |
ค่าสิทธิ (Royalty) | 14% | 10% |
ค่าธรรมเนียมสำหรับการบริการทางเทคนิค (Fees for technical services) | 14% | 10% |
อนุสัญญาภาษีซ้อนของประเทศไทยมีกับหลายประเทศ
ภาษีซ้อน หรือ Double Tax Agreement (DTA) โดยประเทศไทยมีอนุสัญญากับเขตการลงทุน 61 เขตอำนาจการจัดเก็บภาษี เจตนารมย์ของ DTA นั้นมาจาก OECD ที่ประเทศฝรั่งเศส และ UN Model อนุสัญญาของ DTA ระหว่างประเทศไทย – ประเทศกัมพูชา มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 26 ธันวาคม 2560 และมีผลต่อการจัดเก็บภาษีของวันที่ 1 ม.ค. 2561 อ่านต่อเพิ่มเติมที่ http://www.rd.go.th/m/302.0.html
ความน่าสนใจของอนุสัญญา ไทย – กัมพูชา
อนุสัญญาภาษีซ้อน DTA ประวัติมายาวนานถึง 22 ปี ถึงจะลงนามสำเร็จ แต่อย่างไรก็ตาม กรมภาษีของประเทศกัมพูชากำลังพัฒนาระบบการยื่นภาษีจากระบบเอกสารให้เป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์โดยมอบหมายให้ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นผู้ดำเนินการ
ในขณะที่สรรพากรของประเทศไทยนั้นมีระบบการยื่นภาษีที่เป็นระบบอิเลคทรอนิกส์มาก่อนแล้ว ทำให้บางครั้งการขอยื่นภาษียังทำได้ล่าช้าและยังก้าวไปพร้อม ๆ กันยังราบรื่น แต่ก็ถือว่าเป็นนิมิตรหมายอันดีของการลงทุนของนักธุรกิจทั้งสองประเทศ