พูดถึงในยุค 4.0 แล้ว หลายคนคงจะคุ้นหูกับคำว่า Data ในหลาย ๆ บริบท อาทิ Data Analysis, Data visualization เป็นต้น วันนี้ผมอยากจะมาพูดในเรื่องเหล่านี้ให้เห็นภาพมากขึ้นในรูปธรรมมากกว่านามธรรม
Data Analysis คือการวิเคราะห์ข้อมูล
การวิเคราะห์ข้อมูลซึ่งประกอบไปด้วยกระบวนการมากมาย อาทิ การตรวจสอบข้อมูลว่าถูกต้องหรือไม่ ทำความสะอาดให้อยู่ในรูปแบบเดียวกันก่อนนำไปวิเคราะห์
เพื่อที่ว่าจะนำข้อมูลดังกล่าวไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในหลาย ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นการหาทางออกของปัญหา การตัดสินใจ เป็นต้น
Data Visualization คือ การเปลี่ยนข้อมูลให้เป็นรูปภาพให้น่าสนใจ
ผมเริ่มสนใจในการทำ Data Visualization ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 โดยได้เข้าร่วมอบรมกับธนาคารโลก (The World Bank) ในสัมมนาปฏิบัติการที่มีชื่อว่า “From number to picture”
หลังจากนั้นจึงลงมือเปลี่ยนข้อมูลให้เป็นภาพครั้งแรกในปี พ.ศ. 2557 ใน 2 โครงการ คือ (กดอ่านที่แต่ละหัวข้อได้นะครับ)
1. Infographic resume: differentiate ourselves, and get hired. คือการเปลี่ยน Resume ที่น่าเบื่อให้เป็น Resume ที่น่าสนใจ
2. Dashboard: an essential tool of efficient managers in data driven era. คือการนำข้อมูลที่น่าเบื่อมาแปลงเป็นภาพ Dashboard ให้กับผู้บริหารให้ทำการตัดสินใจได้ง่ายขึ้นกว่าเดิม
เมื่อรับราชการแล้วในปี พ.ศ. 2560 (ปีที่แล้ว) จึงได้ทำ Dashboard ผนวกพลังกับ cloud ทำให้ ผู้ว่าราชการจังหวัดทางภาคเหนือแห่งหนึ่ง สามารถตรวจสอบระบบงานของศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดได้ว่า ณ เวลานั้น ๆ
มีเรื่องร้องเรียนกี่เรื่อง คิดเป็นกี่เปอร์เซนต์ และนอกจากนั้นยังสามารถตรวจสอบได้ว่าเนื้อหาของเรื่องร้องเรียนนั้น ๆ เป็นอย่างไร โดยที่ไม่ต้องเข้ามาอ่านที่สำนักงาน แต่สามารถอ่านได้ทางโทรศัพท์มือถือตลอด 24 ชั่วโมง
เครื่องมือในการทำงานด้าน Data
ในการวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis) หรือ การแปลงข้อมูลเป็นภาพ (Data Visualization) นั้นมีเครื่องมือหลากหลาย แน่นอนว่าเริ่มจากเครื่องมือที่เราคุ้นเคยอย่าง MS Excel แต่ปัจจุบันมีเครื่องมือหลายอย่างที่สามารถทำงานด้านข้อมูลได้อย่างทรงพลัง อาทิ เช่น Tableau, R Statistical program (R-studio), Python เป็นต้น
ยังมีภาคปฏิบัตินะครับ ที่นี่
4 กระบวนการที่น่าสนใจในการทำงานกับข้อมูล
https://www.nattawut-kreangkraileard.com/4stepsworkwithdata/#more-778