ในครั้งที่แล้วผมได้พูดถึงการฝึกทักษะการฟังให้เข้าใจ (ด้วยการฟังอย่างตั้งใจ) บทความดังกล่าวมีการพูดถึงคำว่า Healthy Ego ซึ่งเป็นคำที่น่าสนใจและเป็นแนวคิดที่มีประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเอง จึงขอนำมาขยายความดังนี้
เราทุกคนมี Ego
ผมเชื่อว่าทุกคนมีอัตตา (Ego) เป็นของตัวเอง ถ้าอธิบายในทางพุทธศาสนา ท่านพุทธทาสภิกขุได้กล่าวว่าอัตตาคือ “ตัวกู-ของกู” โดยที่อธิบายว่าอัตตามันเป็นเรื่องของจิตได้รับสิ่งแวดล้อมปรุงแต่งเข้ามาจากรอบด้าน
แต่ถ้าพูดถึงในเชิงจิตวิทยา บิดาแห่งจิตวิเคราะห์ ซิกมัน ฟรอยด์ (Sigmund Freud) ได้อธิบายไว้ว่า Ego เป็นส่วนที่มีความสำคัญของบุคลิกภาพ ทำหน้าที่ตัดสินให้สัญชาติญาณเกิดความรู้สึกพอใจเมื่อใดและอย่างไร
ดังนั้นการที่คนเรามี Ego จึงไม่ใช่เรื่องผิดอะไร
การมีอัตตาเหมาะสม (Healthy Ego)
โค้ชเกรียงศักดิ์ได้ตัวอย่างในเพจ TheCoach.in.th ว่าในการทำงานนั้น จะพบว่ามีคนที่มี Ego 3 แบบ คือ
- อัตตาต่ำเกินควร
- อัตตาเหมาะสม (Healthy Ego)
- อัตตาสูงเกินควร
การทำงานนั้นต้องอาศัยการมีอัตตาเหมาะสม (Healthy Ego) จะทำให้ทำงานกับผู้อื่นได้ เพราะเป็นคนที่ไม่ถ่อมตนมากเกินไป และเป็นคนที่ไม่ก้าวร้าวมากเกินไป
ตัวผม “ก่อน” ได้รับการฝึกฝน
ก่อนที่ผมจะได้รับการฝึกฝนด้านการตระหนักรู้ตนเอง (Self-awareness) ผมเป็นคนที่มีอัตตาสูงเกินควร ชอบพูดฝ่ายเดียวโดยไม่ฟังคนอื่นแสดงความเห็น มักแสดงความเห็นกระทบคนอื่นโดยไม่รู้ตัว หรือแม้กระทั่งพูดจากวนประสาทโค้ชเกรียงศักดิ์ในวันแรกที่พบกัน
ตัวผม “หลัง” ได้รับการฝึกฝน
โค้ชเกรียงศักดิ์ได้ให้ตัวผมเองฝึกฝนผ่านการฟังอย่างตั้งใจ และฝึกการมีสติในการพูดและการฟังตลอด หลังที่ผมได้รับการฝึกฝนด้านการตระหนักรู้ตนเอง (Self-awareness) แล้ว ก็ทำให้เป็นคนที่คิดก่อนพูด รู้จักการรอเวลาที่เหมาะสมก่อนแสดงความคิดเห็น
สิ่งเหล่านี้ทำให้ตัวผมเองถูกมองว่าเป็นคนไม่ก้าวร้าว และเป็นคนที่มั่นใจในตนเองในระดับเหมาะสมทำให้หลายท่านกล้ามอบหมายงานให้ทำ
ยังมีบทเรียนดี ๆ จากโค้ชเกรียงศักดิ์ (TheCoach) อีกมากมายให้ติดตาม
โค้ชเกรียงศักดิ์เป็นผู้เชี่ยวชาญการโค้ชผู้บริหารรายบุคคลในเรื่องภาวะผู้นำ การนำเสนอแบบมืออาชีพ และการทำงานต่างวัฒนธรรมภายใต้ตรา TheCoach มีประสบการณ์ทำงานมากกว่า 20 ปีในตำแหน่งผู้บริหารจากบริษัทข้ามชาติชั้นนำเช่น Citibank, DHL และ Kepner-Tregoe และมีประสบการณ์การโค้ชผู้บริหารระดับสูงแบบตัวต่อตัวมากกว่า 10 ปี
มีผลงานคอลัมน์รายสัปดาห์ในหนังสือพิมพ์ Bangkok Post ชื่อคอลัมน์ Bridging the Gap ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับภาวะผู้นำและการสื่อสาร
สามารถติดตามบทเรียนดี ๆ ที่