งานประกาศรางวัล #TBBA2018 จัดขึ้นในวันพฤหัสบดีที่ 29 พฤศจิกายน 2561 ตั้งแต่เวลา 18:00 เป็นต้นไป ณ โรงละครเคแบงก์สยามพิฆเนศ ชั้น 7 สยามสแควร์วัน
ผมได้มีโอกาสมางาน TBBA by CPALL 2018 เป็นครั้งแรก แม้ว่างานจะได้รับการจัดเป็นครั้งที่ 2 แล้วครับ
งานนี้เป็นงานประกาศรางวัลให้กับบล็อกเกอร์ที่มีคุณภาพในหลากหลายรางวัลดังต่อไปนี้
รางวัลที่ | ชื่อรางวัล | เจ้าของผลงาน |
1 | Best creative blog | TypeThai |
2 | Best knowledge blog | เคมีฟิสิกส์ของสิ่งทอ อาหารและของรอบตัว |
3 | Best health and beauty blog | Erk-Erk |
4 | Best food blog | ชีวิตติดรีวิว |
5 | Best travel blog | อาสาพาไปหลง |
6 | Best entertainment blog | – ไม่มีใครได้รับรางวัล – |
7 | Best new blog | The Supporter |
8 | Blog social responsibility | มนุษย์กรุงเทพฯ |
9 | Popular Blog | Point of view |
10 | Blog of the year | The Supporter |
สำหรับบรรยากาศในงานนั้นเต็มไปด้วยพลังของคนรุ่นใหม่ และสนุกสนาน
สรุปเนื้อหา Session Talk ในงาน TBBA by CPALL 2018
- คุณแท๊ป รวิศ หาญอุตสาหะ
- วันนี้ผมดูรายชื่อบล็อกเกอร์ 50 ท่านพบว่ามากกว่าครึ่งเป็นบล็อกเกอร์ที่มีชื่อเสียง
- หลายท่านคุ้นชินกับการทำคอนเทนต์ที่ดี สำหรับวันนี้จะมาพูดคุยว่าในอนาคตคอนเท้นท์ควรจะเป็นอย่างไร
- ปัจจุบันคนอ่านนั้นไม่ได้ตั้งใจอ่าน 100% กล่าวคือ ใช้ lazy mind ตามหลักการในหนังสือ Thinking, Fast and Slow ดังนั้นเนื้อหาที่ซับซ้อนเกินไปอาจจะทำให้คนอ่านข้ามเนื้อหาไปได้
- เราทำคอนเทนต์ไปทำไม?
- ยกตัวอย่าง มีดโกนหนวด Gillette ว่า เราจะขายของกับคนที่โกนหนวดอย่างไร (หลังจากนั้นเปิดโฆษณาหนึ่งของบริษัทว่าลูกปรนนิบัติพ่อที่ดูแลตนเองไม่ได้) ออกแบบมีดโกนหนวดที่โกนให้คนอื่นแทนที่จะโกนหนวดให้ตนเอง
- การทำคอนเทนต์ที่ดีต้องเข้าใจคนฟัง คือ เขาเป็นใคร อายุเท่าไหร่ รายได้เท่าไหร่ นอกจากนี้ เค้ามีระบบความเชื่ออย่างไร ซึ่งเรียกรวมกันว่า Persona เช่น เมื่อกล่าวถึงนักศึกษาผู้หญิง ป.ตรี อาจจะฟังดูเจาะจงแล้ว แต่ในกลุ่มนี้ก็ยังมีความแตกต่างอีก เช่น บางคนชอบเรียน บางคนชอบปาร์ตี้ และบางคนชอบทำงานอาสา เป็นต้น
- Persona ประกอบไปด้วย เป้าหมายในชีวิต สนใจอะไร ใช้ชีวิตอย่างไร การใช้จ่าย ไอดอลคือใคร กลัวอะไร ความท้าทายคืออะไร (อ่านตามสไลด์นำเสนอ)
- มีไอเดียดีแล้วนั้นก็ต้องลงมือปฏิบัติให้ดีด้วย เช่น ไนกี้ มีสโลแกน Just Do It. คำสั้น ๆ ก็เพียงพอแล้ว เวลาเลือกสื่อสารต้องเลือกบางประเด็นก็พอ ไม่ต้องยัดเยียดทุกประเด็น (ยกตัวอย่างโฆษณา Time is precious)
- การคอนเทนต์ต้องใช้เทคนิค 3E คือ
- Engagement ยกตัวอย่าง the $100 Campaign โดย LEGO พูดถึง George ทีมงานบอกว่าช่วยพา George ไปเที่ยว สุดท้ายผู้ใช้งานต่อ LEGO เป็นตัวละครดังกล่าว แล้วมีส่วนร่วมกิจกรรมทางการตลาดของ LEGO
- Evergreen เนื้อหาคงอยู่นาน
- Event เนื้อหาทันเหตุการณ์
- ต้องโฟกัสที่ภารกิจของแบรนด์มากกว่าตั้งหน้าตั้งตาให้คนแชร์ โดยยกตัวอย่างโฆษณา Green Light Run Tokyo by Adidas
และ…
- คุณนิว Banlue group จากขายหัวเราะ มหาสนุก มาพร้อมคุณพ่อ (บ.ก.)
- คุณนิวใช้เวลาคิดว่าจะมีมุมใดจาก Banlue group จะมาแชร์ให้ผู้ฟังได้บ้าง
- คุณนิวนึกถึงตัวเองว่า สภาวะรอบข้างเปลี่ยนแปลงไปทำให้เราต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอด เหมือนแมวน้ำที่ถูกโจมตีเพราะน้ำแข็งละลายมากกว่าเดิม รวมถึงอาหารที่น้อยลง เกิดความแข่งขันในอุตสาหกรรม
- ขายหัวเราะ ก็ต้องปรับตัว โดยเริ่มจากการตั้งคำถามว่า ความหมายและเป้าหมายของแบรนด์คืออะไร เนื่องจากคุณพ่อคุณแม่มีวิสัยทัศน์ บอกว่าคอนเทนต์เราไม่มีรูปร่าง จึงไม่มีข้อจำกัด เป็นไปอย่างสร้างสรรค์ ไม่จำกัดแค่การ์ตูนแต่ยังแตกไลน์ไปยังไลฟ์สไตล์อีกด้วย
- ขายหัวเราะจึงปรับตัวโครงสร้าง และหน่วยธุรกิจ รวมถึงปรับวัฒนธรรมให้ทันสมัย พัฒนาทักษะของบุคลากรก
- Banlue group ประกอบไปด้วย ขายหัวเราะ มหาสนุก ปังปอนด์ นอกจากนี้จึงทำคอนเทนต์ ตอบสนองวัยรุ่น เช่น SALMON House รวมถึงยังขายลิขสิทธิ์ไปยังต่างประเทศ และมาทำ Animation อีกด้วย นอกจากนี้ยังมี minimore the Matter M.O.M ซึ่งเป็น Platform online ยังมี Event organizer (Eventure) Consulting Agency ในกลุ่มธุรกิจ
- ส่วนตัวขายหัวเราะนั้น มองตัวเองเป็นความฮาสามัญประจำบ้าน เข้าถึงได้ทุกเพศทุกวัย ในรูปเล่มที่มีการปรับขนาดใหม่ โดยได้แรงบันดาลใจจากคุณมิยาโมโต้ ผู้สร้างเกมส์มาริโอ้ ยุคนั้นบริษัทหลายแห่งพยายามแข่งขันที่ภาพและความซับซ้อน แต่คุณมิยาโมโต้โฟกัสให้เกมส์เข้าถึงง่าย จึงออกผลิตภัณฑ์ Wii ดังนั้นเราต้องเข้าใจจุดแข็งของตนเอง กล้าปรับเปลี่ยน และกล้าเสี่ยง ความผิดพลาดจะนำเราไปสู่ในเส้นทางที่ถูกต้องและความคิดสร้างสรรค์
- เริ่มทำเพจขายหัวเราะ ในตอนแรกเริ่มจากขายหนังสือ ลองทำ A/B testing ของคอนเท้นท์ว่าลูกเพจชอบเนื้อหาอะไรแบบไหน เพจทำหน้าที่ขยายความกว้างของกลุ่มเป้าหมายได้ แต่ละแพลตฟอร์มมีความเหมาะสมกับคอนเทนต์ไม่เหมือนกัน ทั้ง ๆ ที่ดูภายนอกแล้วดูจะเหมือนกันมาก ให้เรานำเอาข้อมูลมาใช้ ได้แรงบันดาลใจจากการหาเสียงของโอบาม่า โดยมีการระดมทุน จดหมายการระดมทุนแต่ละแบบ มีหัวข้อที่ไม่มีเหมือนกันจึงเรียนรู้ว่าลักษณะการเขียนแบบใดคนอ่านน่าสนใจ จึงนำแนวคิดนี้มาปรับในการจัดแผงหนังสือ
- คุณนิว รับผิดชอบการออกสติกเกอร์ไลน์ลายขายหัวเราะ โดยรับการติดต่อจาก LINE ให้ทำ สติกเกอร์ที่เป็นท้องถิ่น (Local) มากขึ้น เป็นโปรเจคที่ประสบความสำเร็จ รวมถึง Google Assistant ที่ติดต่อมาเพื่อทำให้การโต้ตอบในระบบมีอารมณ์ขันมากขึ้น นอกจากนี้ยังนำเอาเหตุการณ์ที่น่าสนใจมาทำเป็น theme หรือ หนังสือน่าสะสมกับ UN Women รวมถึง เป็นคู่ค้ากับธุรกิจต่าง ๆ อย่าง เงินติดล้อ Walt Disney Microsoft ที่ร่วมมือกับกระทรวงดิจิทัลฯ ของไทย
- ถ้าไม่มีปัญหาแสดงว่าเรากำลังเจอปัญหา ดังนั้นอย่ารอรีให้ปัญหามาหาเรา เราต้องมองหาปัญหา เพราะปัญหาทำให้เราเติบโตขึ้น
- คุณเต๋อ ดำเนินรายการโดยคุณผ้าป่าน The Jam Mag
- คำว่า Now or never คืออะไร สำหรับ Now คือ ความเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเพราะโลกเปลี่ยนแปลงรวดเร็วมาก จึงไม่มี Now อยู่จริง ไม่เหมือนสมัยก่อนที่การเปลี่ยนแปลงใช้เวลามาก อาจจะเป็นเพราะมีข่าวสารใหม่ ๆ อยู่ตลอดเวลา สมัยก่อนเราต้องรับชมสื่อเหมือน ๆ กัน ไม่เหมือนสมัยนี้ที่ทุกคนเลือกรับชมสื่อได้ตามใจชอบ
- การ Collaboration มีความน่าสนใจอยู่แล้ว เพราะมันคาดเดาไม่ได้ สมัยก่อนเป็นการร้องเพลงคู่กัน เรียกว่า Featuring ถามว่าจำเป็นหรือไม่คงพูดยาก
- การร่วมมือกันไม่จำเป็นต้องเป็นระหว่างแบรนด์กับแบรนด์ก็ได้ จะเป็นระหว่างบุคคลกับคอนเทนต์ก็ได้ อาจจะหาสิ่งที่ตรงข้าม ไม่เหมือน มาร่วมมือกันทำให้ดูน่าสนใจ เช่น โดราเอมอนในโลกไดโนเสาร์ ที่ดูจะไม่เกี่ยวกัน แต่น่าสนใจนอกจากนี้คนทำคอนเทนต์ก็จะสนุกขึ้นเพราะโจทย์จะท้าทายขึ้น ซึ่งเป็นธรรมชาติของคนทำงานสร้างสรรค์ คือ ต้องทำการหาความเป็นไปได้ใหม่ ๆ โดยมองว่าการร่วมมือต้องเป็นการจับมือไว้แล้วไปด้วยกัน
- ถ้าต้องทำงานที่ไม่ถนัด อาจจะลองทำดู ก็ต้องศึกษาหาข้อมูล ผลออกมาอาจจะไม่ค่อยโดดเด่น ไม่เหมือนงานที่ตนเองถนัดจะได้โดดเด่นกว่า
- ต้องเสนอไอเดียที่ไม่มีมาก่อน แต่ก่อนเสนอต้องศึกษามาแล้ว ต้องมีความเชี่ยวชาญประมาณนึงถึงจะเสนอออกมาได้ ดังนั้นจึงต้องรู้จักตนเอง และเป็นตัวเอง เพราะเมื่อทำซ้ำ ๆ จนลูกค้าจำได้ เขาก็จะมาหาเราในแบบที่เราเป็น นอกจากนี้การทำงานต้องเข้าใจลูกค้าด้วย
- ในการพูดบรรยายนั้น คนฟังอยากฟังในเรื่องที่ตนเองไม่รู้ หรือเรื่องที่มองข้ามไป เราไม่จำเป็นจะต้องพูดให้ตลก หรือ พูดแล้วซึ้ง
- เนื่องจากในยุคนี้มีพื้นที่ในการแสดงออกที่เป็นตัวเอง ดังนั้นเรื่องที่เป็นความสนใจส่วนบุคคลหากทำเนื้อหาให้ดี ๆ ก็จะกลายเป็นเรื่องที่น่าสนใจของหลาย ๆ คนได้
- การทำงานเราไม่มีกลยุทธ์ เพราะการทำหนังไม่ต้องมีกลยุทธ์ เพราะถ้าหนังมีกลยุทธ์ แสดงว่าเราไม่ได้สร้างสิ่งใหม่ ถ้าจะมีกลยุทธ์ก็ให้พอมีเป็นฐานอยู่บ้างเพื่อใช้ในการทำงาน เวลาทำงานนั้นไม่ใช่ว่าต้องประสบความสำเร็จทุกชิ้น ต้องอาศัยการทดลอง และการทดลองนั้นต้องอาศัยว่าลูกค้ายินดีที่จะทำการทดลองไปด้วยกัน
ขอบคุณรูปจาก https://www.eventpop.me/e/4174-thailand-best-blog-awards-2018
หากชอบอ่านสรุปเนื้อหาแบบบทความนี้ แนะนำให้อ่าน…