ปัจจุบันการทำการค้าบนโลกออนไลน์เป็นเรื่องที่น่าสนใจมากกว่าในอดีตที่ผ่านมา วันนี้ผมขออนุญาตหยิบยกประสบการณ์ของตนเองมาเขียนบทความให้อ่านกัน
ยาวไป เลือกอ่านฉบับย่อ (คลิ๊กที่นี่)
1. การทำการตลาดออนไลน์อาศัยเทคนิค Outbound และ Inbound marketing
นอกจากบัญชี Social Media แล้วยังต้องการการทำเว็บไซต์เพื่อใช้ในการทำกลยุทธ์ดังกล่าวด้วยจึงแนะนำให้ใช้ WordPress.org
2. ขั้นตอนคร่าว ๆ ของการสร้างเว็บไซต์
ประกอบไปด้วย
1. หาชื่อเว็บไซต์ (Domain name) ที่ชอบ
2. หาพื้นที่ฝากเว็บไซต์ (Hosting)
3. ทำกระบวนการติดตั้ง
3. ต้องหา Keyword ที่ใช่
ผ่านโปรแกรม Google Keyword Planner และ Google Trend เพื่อมาทำบทความ SEO บนเว็บไซต์
หลังจากนั้นให้ใช้เทคนิคปุ่ม Call-to-action เพื่อให้คนที่เข้ามาเยี่ยมเว็บไซต์ของพ่อค้าแม่ขายนั้นถูกย้ายมาเพื่อปิดการขาย และโอนเงินผ่านโปรแกรมแชท (Messaging Application) ที่พ่อค้าแม่ขายถนัด เช่น LINE และ Facebook messenger เป็นต้น
1. การทำการตลาดออนไลน์อาศัยเทคนิค Outbound และ Inbound marketing
เมื่อพูดถึงว่าจะขายของออนไลน์แล้ว หลายคนก็คงจะพูดถึงการ เปิดบัญชี Facebook หรือ Instagram หลังจากนั้นก็พยายามจะชวนเพื่อนหรือคนรู้จักมากดติดตาม…
จริงๆ แล้ว การทำการตลาดออนไลน์นั้นนอกจากบัญชี Social Media แล้วยังต้องการการทำเว็บไซต์เพื่อใช้ในการทำกลยุทธ์ดังกล่าวการตลาดออนไลน์อีกด้วย
การทำการขายของบน Facebook หรือ IG นั้น เป็นการทำการตลาดขาออก (Outbound Marketing) ซึ่งเปรียบเหมือนการตะโกนหน้าบ้านว่า…
“ชั้นมีของมาขาย เธอจะซื้อกันมั้ย?”
ซึ่งเมื่อก่อนนั้น การทำการตลาดแบบนี้ดูจะเข้าท่า แต่ปัจจุบันกลับกลายเป็นวิธีการที่ไม่ดีเสมอไป เพราะผู้บริโภคสามารถหาข้อมูลด้วยตนเองได้เกือบทั้งหมด
ในขณะที่การทำการตลาดขาเข้า (Inbound Marketing) เปรียบเหมือนการที่เราตระเตรียมสินค้าให้พร้อมอยู่เสมอ เพื่อรอลูกค้าเอ่ยปากว่าอยากได้สินค้าอะไร เปรียบเหมือนการที่เรา…
เสนอสินค้าที่ลูกค้าอยากได้ ในเวลาที่เหมาะสม
อย่างไรก็ตามนั้น การตลาดขาเข้า (Inbound Marketing) จำเป็นต้องใช้ “Website” ในการทำกลยุทธ์ดังกล่าว
พอมาถึงจุดนี้ หลายท่านคงจะเริ่มคิดว่า…
ยุคนี้ยังมีใครใช้ Website อีกหรอ ?
ผมตอบว่า ใช่ครับ และยังมีความจำเป็นอยู่มาก เพราะการมี Website นั้น เปรียบเหมือนการมีบ้านเป็นของตนเอง (อ่านเพิ่มเติมที่นี่)
หลายท่านคงจะคิด และกังวลว่า Website นั้น ทำยาก เพราะขาดความรู้ความเข้าใจในทางโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งผมก็จะตอบว่า ไม่จำเป็นต้องเลือกตัวยากขนาดนั้นก็ได้ครับ เพราะปัจจุบันนั้น Website มีอยู่ 2 แบบ คือ
- Website สำเร็จรูปสำหรับนักธุรกิจ (Businessperson)
- Website สำหรับนักพัฒนา (Developer)
Website สำเร็จรูปสำหรับนักธุรกิจ (Businessperson)
ปัจจุบันเรามี Website สำเร็จรูปสำหรับนักธุรกิจให้เลือกใช้กันหลายเจ้า ทั้งในประเทศและต่างประเทศ อาทิ
รายการที่ | ชื่อบริการ | สถานที่ตั้ง |
1 | Wix.com | ต่างประเทศ |
2 | weblium.com | ต่างประเทศ |
3 | weebly.com | ต่างประเทศ |
4 | blogger.com | ต่างประเทศ |
5 | WordPress.com | ต่างประเทศ |
6 | Makewebeasy.com | ไทย |
7 | Readyplanet.com | ไทย |
8 | iGetweb.com | ไทย |
บริการข้างต้น จะทำให้เราสร้าง website ได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย ผ่านการเลือก Theme ที่อยากได้ แล้วปรับแต่งให้ถูกใจ ผู้ให้บริการหลายเจ้าอนุญาตให้เราใช้งานฟรีด้วยครับ แต่อย่างก็ตามชื่อ website จะอยู่ปนกันกับชื่อ website เราด้วย แต่ถ้าเสียค่าบริการก็สามารถเปลี่ยนชื่อเว็บไซต์ตามที่ใจเราต้องการได้
Website สำหรับนักพัฒนา (Developer)
ยังมีอีกบริการที่จะทำให้เราสามารถสร้าง website ได้อยากถูกใจในทุก ๆ ขั้นตอน คือ
- เริ่มจากหาชื่อ Website เอง
- หาที่ฝาก Website เอง
- ติดตั้งด้วยตนเอง
โดยบริการดังกล่าวแนะนำให้ใช้ WordPress.org (ซึ่ง Website นี้ใช้บริการนี้อยู่) เพราะสามารถปรับแต่งขั้นสูงได้ ไม่เหมือนกันกับ Website สำเร็จรูปสำหรับนักธุรกิจ (Businessperson) ที่แม้ว่าจะใช้งานได้ง่ายในตอนต้น แต่เมื่อจะปรับแต่งขั้นสูงแล้วจะไม่สามารถทำได้ดั่งใจ อาทิ
ตัวอย่างการปรับแต่ง คือ การที่มีหน้าต่าง Pop-up เด้งขึ้นมาเพื่อขอข้อมูลลูกค้า เช่น อีเมล
รวมถึงการติดพื้นที่ว่างไว้สำหรับการโฆษณา
ด้วยเหตุนี้ในระยะยาวแล้ว ผมจึงแนะนำให้ใช้ WordPress.org
2. ขั้นตอนคร่าว ๆ ของการสร้างเว็บไซต์
2.1. หาชื่อเว็บไซต์ (Domain name) ที่ชอบ
ก่อนอื่นต้องทำการค้นหาชื่อเว็บไซต์ (Domain name) ที่อยากได้ เพื่อตรวจสอบดูว่าชื่อดังกล่าวมีใครใช้ไปแล้วหรือยัง หากมีแล้วก็ต้องเปลี่ยนชื่อใหม่ หากยังไม่มีใครเป็นเจ้าของเราก็สามารถซื้อไว้ใช้งานได้
2.2. หาพื้นที่ฝากเว็บไซต์ (Hosting)
เมื่อได้ชื่อเว็บไซต์ (Domain name) ที่อยากได้แล้วก็ต้องหาพื้นที่ฝากเว็บไซต์ (Hosting) ที่อยากได้ในประเทศไทยมีหลายเจ้า ราคาก็แตกต่างกันไป
เมื่อจะตัดสินใจเลือกเจ้าใดก็ต้องดูว่าเราสะดวกติดต่อกับผู้ให้บริการว่าเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ หากสะดวกเป็นภาษาไทยก็แนะนำให้เลือกผู้บริการในประเทศไทยจะดีกว่า
2.3. ทำกระบวนการติดตั้ง
การติดตั้งแม้ว่าจะไม่ได้อาศัยเทคนิคทางการเขียนโปรแแกรมแต่ก็ยังมีความซับซ้อนอยู่ดี ผมแนะนำบทความ “คู่มือการติดตั้ง WordPress (Manual)” โดย WPThaiuser.com ที่เขียนได้ชัดเจนมาก
แนวคิดของนักการตลาดในต่างประเทศ
คุณ Robert Rackley ตำแหน่ง Vice President Of Marketing แห่งบริษัท Express Text บริษัทให้บริการการตลาดทาง SMS ได้เคยเขียนบทความ ไว้อย่างน่าสนใจ จำนวน 2 เรื่อง คือ
- Marketing For Small Business – 13 Effective Tips and Strategies
- Small Business Marketing Ideas That Can Make A Difference Today
สามารถเข้าไปอ่านดูกันได้