หลังจากที่คณะทำงานพร้อมตัวผมเดินทางไปจังหวัดเชียงใหม่ในฐานะพื้นที่นำร่องในการดำเนินการรับมือฝุ่น PM 2.5 ในพื้นที่จังหวัดภาคเหนือของประเทศไทย หลายต่อหลายครั้ง ในที่สุดแผนการรับมือก็เกิดขึ้นเป็นรูปเป็นร่างเสียที
ให้คนเชียงใหม่นำทัพ
เรื่องมีอยู่ว่า พี่ตั้น (เจ้านายของผม ซึ่งแกคือคนเชียงใหม่) นำคณะทำงานที่ประกอบไปด้วย อ.ภักดี พี่มะปราง วิวิว น้องฟักแฟง (น้องใหม่จบจากประเทศฝรั่งเศส ส่วนตัวผมได้แค่เศษฝรั่ง) และผม เดินทางไปจังหวัดเชียงใหม่เพื่อทราบถึงข้อเท็จจริงและปัญหาฝุ่น PM 2.5 ที่เกิดขึ้นในจังหวัดเชียงใหม่
ให้เห็น … จึงนึกภาพออก
พอได้ทราบปัญหาก็กลับมาคิดแผนการดำเนินการต่าง ๆ เริ่มตั้งแต่การทำต้นแบบระบบรับมือฝุ่น PM 2.5 (ภายหลังตั้งชื่อได้แล้วว่า AirCMI) แล้วไปนำเสนอกับผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ รวมถึงส่วนราชการที่เกี่ยวข้องให้เห็นภาพตรงกันเพื่อให้เกิดความร่วมมือในการบูรณาการข้อมูลกัน (คำนี้ฮิตมากในระบบราชการ เพราะระบบราชการทำงานแบบไซโล (Silo) มานาน กล่าวคือทำงานของใครของมัน ไม่เชื่อมโยงกัน ฉะนั้น ยุคนี้ภาครัฐจึงพยายามหาทางทำงานแบบบูรณาการให้ได้)
เมื่อทำสำเร็จแล้วจึง Soft launch ระบบ AirCMI ดังกล่าวออกมา ประกอบไปด้วย Web App และ Mobile App AirCMI ให้ประชาชนได้ทราบถึงสภาพ ฝุ่น PM 2.5 ในพื้นที่ รวมถึง Web App อีก App เพื่อใช้ใน War room (แบบที่เห็นในหนัง Hollywood) ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ได้สั่งการแก้ไขปัญหา ฝุ่น PM 2.5 ได้ทันท่วงที
แอปพลิเคชัน AirCMI น่าใช้มั้ย
น่าใช้ครับ เพราะเป็นแอปพลิเคชันที่ได้รับการปรับแต่งให้เข้ากับท้องที่และบริบทของจังหวัดเชียงใหม่และผู้ใช้งานเพื่อให้รับมือฝุ่น PM 2.5 ได้ (จะเปิดให้ดาวน์โหลด ไว ๆ นี้)
แอปพลิเคชัน เพียงอย่างเดียวไม่อาจจะแก้ไขปัญหาฝุ่น PM 2.5 ได้ แต่ไว้ผมจะมาอธิบายในคราวหน้า เพราะต้องอธิบายยาว
ขอออกสื่อหน่อย
พี่ตั้น อ.ภักดี อยากให้ท่านผู้อ่านเห็นภาพมากขึ้น จึงขอออกสื่อสักหน่อย
เก็บตกคณะทำงาน
ขออนุญาตแนะนำเพื่อน ๆ ในทีมผมหน่อยนะครับ นอกจากพี่ตั้น อ.ภักดี แล้วก็มี ..
พี่มะปราง
วิวิว
น้องฟักแฟง
น้องทิพย์ (คนขวามือในรูป) แกก็อินกับเรื่องปัญหา PM2.5 เช่นกันนะ
พี่ขวัญ คนเชียงใหม่โดยกำเนิด ได้รับทราบถึงเรื่องราวการดำเนินการในครั้งนี้ ถึงขั้นตื้นตัน ต้องตั้งสถานะลง Facebook เลยครับ
คร่าว ๆ ประมานนี้ เดี๋ยวมาอัพเดตเรื่อย ๆ ครับ