ทางผู้จัดทำได้อ่านศึกษาหาข้อมูลกระแสของเทคโนโลยีผ่านอินเตอร์เนต อาทิ Quora และ Medium อันเป็นแหล่งข้อมูลที่มีกิจกรรมการอัพเดตข้อมูลใหม่ล่าสุดอยู่เสมอ รวมถึงได้อ่านรายงานชิ้นสำคัญของบริษัทที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยี 2 บริษัท คือ Accenture และ Fujitsu ที่เป็นรายงานที่น่าเชื่อถือและมีอยู่ในท้องตลาดขณะนี้
เนื้อหาโดยสรุป
จากการสรุปเนื้อหาของรายงานนั้น พบว่ารายงานทั้ง 2 ฉบับมีการคาดการณ์ถึงการใช้เทคโนโลยีที่จะเกิดขึ้นในอนาคตคล้ายคลึงกัน โดยรายงานนั้นเชื่อว่าธนาคารจะมีการใช้เทคโนโลยีดังต่อไปนี้
- การใช้ระบบ AI ในช่วยมนุษย์ในการทำงาน เช่น Robo Advisors
- การใช้เทคโนโลยีขยายความเป็นจริง (Extended Reality) เช่น Video Banking
- การเปิดระบบ API ของธนาคารเพื่อให้คู่ค้าพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเงินร่วมกัน (Open API หรือ Open Banking)
- การนำข้อมูลของลูกค้ามาพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่เฉพาะกลุ่ม เช่น Big Data Analytics
- การทำธุรกรรมอย่างรวดเร็วโดยไม่อาศัยธนาคารในฐานะตัวกลาง เช่น Cryptocurrencies
เนื้อหาฉบับเต็ม
จากที่ได้เห็นประจักษ์ว่าปัจจุบันกระแสของเทคโนโลยีได้ส่งผลกระทบ และสร้างการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำธุรกิจของอุตสาหกรรมต่าง ๆ มากมายรวมทั้งอุตสาหกรรมการเงิน จึงทำให้ธนาคารหลายแห่งทั่วโลกรวมถึง ในประเทศไทยจึงต้องเตรียมตัวรับมือกับกระแสเทคโนโลยีดังกล่าวเพื่อให้สามารถทำธุรกิจต่อไปในอนาคตได้
บริษัทที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีชื่อดังอย่าง Accenture ได้ออกรายงานฉบับหนึ่งชื่อว่า วิสัยทัศน์ของเทคโนโลยีของธนาคารปี 2018 (Banking Technology Vision 2018) โดยผู้จัดทำรายงานฉบับนี้ได้ทำการสัมภาษณ์ผู้บริหารของธนาคารจำนวน 800 ท่านใน 25 ประเทศ โดยได้ข้อสรุปว่าภายใน 3 ปีหลังจากนี้ (ค.ศ. 2019 – 2021) ผู้บริหารกลุ่มนี้คาดการณ์ว่าจะมีกระแสเทคโนโลยีเกิดขึ้นใหม่ 5 กระแส ดังต่อไปนี้
กระแสฯ ที่ | ชื่อของกระแสเทคโนโลยี | รายละเอียดของกระแสเทคโนโลยี |
1 | พลเมือง AI ในที่ทำงาน (AI Citizen) | 1.1 ช่วยทำงานแทนอัตรากำลังคนเพื่อเป็น 1.2 ช่วยแนะนำผลิตภัณฑ์น่าเหมาะสมแก่ลูกค้า 1.3 ช่วยในการตัดสินใจอย่างรวดเร็วและถูกต้องตามกฎระเบียบที่ภาครัฐกำหนด |
2 | เทคโนโลยีขยายความเป็นจริง (Extended Reality) ติดต่อกับลูกค้าอย่างไร้ข้อจำกัดด้านระยะทาง | 2.1 สร้างความผูกพัน (Engagement) กับลูกค้า อย่างไร้ข้อจำกัดด้านระยะทาง อาทิ สอนให้ลูกค้าได้เรียนรู้การลงทุนในรูปแบบ 3 มิติ 2.2 สร้างยอดขายผ่านการทำธุรกรรมผ่าน |
3 | ความแม่นยำของข้อมูล | 3.1 ธนาคารต้องให้ความสนใจเรื่องความถูกต้องของข้อมูลโดยมองว่าข้อมูลคือวัตถุดิบในการสร้างผลิตภัณฑ์ และต้องรับผิดชอบกับข้อมูลมากขึ้นยิ่งกว่าเดิม 3.2 ธนาคารจะมีการจัดการข้อมูลที่มีระบบ |
4 | ธุรกิจพัฒนาได้ต่อเนื่อง (Frictionless Business) | 4.1 ธนาคารจะเปิดองค์กรของตนเองมากขึ้นเพื่อให้คู่ค้ามาพัฒนาระบบร่วมกัน 4.2 การนำเทคโนโลยีบลอคเชน (Blockchain) |
5 | ระบบคิดที่เชื่อมต่อกัน | 5.1 ธนาคารสามารถเข้าถึงข้อมูลทิ่วิเคราะห์แล้วได้ทันที (Real-time insights) โดยอาศัย 5.2 ให้บริการกับลูกค้าโดยยึดสถานที่ที่ลูกค้าอยู่ (Location-based services) โดยร่วมมือกันกับผู้ให้บริการเครือข่ายสัญญาณโทรศัพท์มือถือ |
นอกจากนี้แล้วบริษัท Fujitsu ก็ได้เขียนรายงานฉบับหนึ่งที่เกี่ยวกับการคาดการณ์เทคโนโลยีที่จะส่งผลต่ออุตสาหกรรมทางการเงินเช่นกัน โดยมีชื่อว่า Fujitsu Digital Insights: Digital Transformation of Banking Services โดยกล่าวไว้ว่าในปี ค.ศ. 2030 นั้น ผู้คนจะใช้ชีวิต
ต่างจากปัจจุบันโดยมีความสะดวกสบายมากกว่าเดิม อาทิ
เมื่อตื่นนอนตอนเช้า ระบบ AI ส่วนบุคคลจะบอกตารางงานที่ต้องทำ บอกข่าวสารที่เกิดขึ้นในวันนั้นว่าได้ส่งกระทบต่อพอร์ตการจัดการสินทรัพย์ (asset management portfolio) อย่างไรบ้าง
หรือแม้การที่ได้ไปเที่ยวต่างประเทศแล้วบังเอิญเราได้เจอร้านค้า ณ วินาทีนั้นนาฬิกาข้อมือของเราก็ได้แสดงราคาสินค้าที่เราสนใจในหน่วยเงินของประเทศตัวเองแบบอัตโนมัติ พร้อมทั้งขออนุมัติจากเราเพื่อให้เราสามารถซื้อสินค้าได้โดยเพียงแค่แสกนลายมือหรือสั่งการด้วยเสียง
ด้วยสถานการณ์ที่ได้คาดการณ์ไว้ข้างต้นของบริษัท Fujitsu ทางบริษัทฯ จึงเชื่อมั่นว่าอนาคตจะมีกระแสเทคโนโลยี 5 กระแสเกิดขึ้นเช่นกัน ดังนี้
กระแสฯ ที่ | ชื่อของกระแสเทคโนโลยี | รายละเอียดของกระแสเทคโนโลยี |
1 | ธนาคารที่ประสานเข้ากันกับชีวิตและธุรกิจของผู้คนได้อย่างลงตัว (Engagement Banking) | เข้าถึงข้อมูลทางการเงินที่สำคัญได้ทันที เช่น |
2 | ธนาคารในฐานะแพลตฟอร์ม (Platform Banking) | ธนาคารเปิดให้เป็น Open Banking โดยให้คู่ค้าเชื่อมโยงผ่าน API ของธนาคารเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเงินใหม่ ๆ ให้แก่ลูกค้า |
3 | ธนาคารแห่งเทคโนโลยี(Technology Banking) | นำ เทคโนโลยี AI และระบบอัตโนมัติมาเพื่อ |
4 | ธนาคารแห่งสังคม (Social Banking) | ด้วยการทำธุรกรรมโดยไม่ต้องอาศัยตัวกลาง |
5 | ธนาคารแบบองค์รวมเพื่อเพิ่มคุณค่าทางสังคม (Inclusive Banking) | การนำข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้ามาใช้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ทางการเงินให้กับลูกค้าเฉพาะกลุ่ม อาทิ |
จากข้อมูลข้างต้นจึงสรุปได้ว่าธนาคารในประเทศไทยแม้ว่าจะมีการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนาสินค้าและบริการทางการเงินไปบ้างแล้ว แต่อย่างไรก็ตามยังมีโอกาสสำหรับธนาคารฯ ในการที่จะนำเทคโนโลยีบางอย่างมาใช้เพิ่มเติมเพื่อเตรียมตัวในการรองรับกระแสที่จะเกิดขึ้นในอนาคต