กรุงเทพฯ ประเทศไทย

ทําไมเวลาผ่านไปเร็วและทําไมถึงขี้เกียจทํางาน

pexels photo 53918

ทําไมเวลาผ่านไปเร็ว ทําไมเวลาผ่านไปช้า เป็นคำถามที่ค้างคาใจหลายคนอย่างแน่นอน มีหนังสือเล่มนึงที่สามารถตอบคำถามเราได้อย่างชัดเจน

 

คำตอบอยู่ในหนังสือ Flow

 

Mihaly Csikszentmihalyi

 

Flow: The Psychology of Optimal Experience  เขียนโดย Mihaly Csikszentmihalyi (อ่านว่า มิฮาลี ชิคเซนมิฮาย) เป็นนักจิตวิทยาชาวฮังการี ได้อธิบายถึงการรับรู้เวลาของมนุษย์อย่างละเอียด (ชมใน TED TALK

ถ้าให้สรุปสั้นๆ ก็คือ ยามที่เราจดจ่อกับเรื่องใดเรื่องนึงนานๆ เวลาจะผ่านไปไว ซึ่งในกรณีนี้ มิฮาลี ชิคเซนมิฮาย เรียกมันว่า Flow ในทางกลับกันนั้น ยามที่เราไม่ได้ทำการจดจ่อกับเรื่องใดเรื่องนึงจะรู้สึกว่าเวลาผ่านไปช้า

อ่านต่ออย่างละเอียดที่ https://en.wikipedia.org/wiki/Flow_(psychology)

 

เราสามารถเร่งเวลาให้เร็วขึ้นและทำเวลาให้ช้าลงได้ 

ผมเคยปรึกษาแอน — มิตรสหายท่านนึงที่ทำอาชีพที่น้อยคนจะรู้จัก — ว่า ทำยังงัยให้วันทำงานเร็วขึ้น แอนบอกว่าให้โฟกัสในงานที่ทำ (เพื่อให้อยู่ในสถานะ Flow)

 

ในทางกลับกัน ผมถามว่าทำยังงัยให้วันหยุดช้าลง แอนตอบว่าง่ายมาก ให้ตื่นเช้าๆและหาอะไรทำให้เยอะๆ และวันนั้นจะยาวขึ้นกว่าเดิม ผมลองทำตามโดยตื่นนอนวันเสาร์ตั้งแต่ 6 โมง กินแฟ เล่นเวท ดูหนัง ฟังเพลง เดินห้าง กลับบ้าน พบว่า เวลายาวขึ้นกว่าเดิม 1.5 – 2 เท่าของเวลาเดิมที่เคยมี

 

 

ขี้เกียจทํางานทำยังงัยดี?

แอนยังบอกต่ออีกว่า นอกจากนี้แล้ว เรายังเอาชนะความขี้เกียจไปทำงานได้อีกด้วย โดยการ “หลอกสมอง”

 

 

แอนอธิบายว่าโดยธรรมชาติของมนุษย์นั้นจะหลีกเลี่ยงการใช้พลังงาน และเปรียบเทียบเพื่อเลือกตัวเลือกที่ใช้พลังงานน้อยกว่าเสมอเพราะในอดีตนั้น มนุษย์ดึกดำบรรพ์หาอาหารไม่ง่ายเท่าในยุคสมัยนี้ ดังนั้นหากมนุษย์ขยันมากไป อาจจะตายหมดเพราะใช้พลังงานเยอะไปกว่าอาหารที่หามาได้ในแต่ละวัน

 

ตัวอย่างเหตุการณ์ ผมจะให้คุณเลือกว่าจะทำอะไร ระหว่าง 2 ตัวเลือกนี้

  • ตื่นมาฉี่
  • นั่ง BTS ไปทำงาน

 

คำตอบของมนุษย์โดยปกติแล้วคือ ข้อ 1 เพราะมีการใช้พลังงานน้อยกว่าข้อ 2 ซึ่งตรงกับธรรมชาติของมนุษย์ นั่นคือเหตุผลว่าทำไมเราจึงขี้เกียจไปทำงานเพราะมันใช้พลังงานมากกว่าการตื่นมาฉี่

 

ขั้นตอนการหลอกสมอง คือ ให้หาสิ่งที่ชอบในบริเวณที่ทำงาน เช่น ร้านชานมไข่มุก ร้านข้าวอร่อยๆ เป็นต้น แทนที่จะคิดถึงเรื่องการเดินทางไปทำงาน เมื่อไปถึงร้านชานมไข่มุก หรือ ร้านข้าวอร่อยๆแล้ว เราจะทำงานต่อได้เอง

 

 

ณัฐวุฒิใช้ ทฤษฎี flow หรือหลอกสมองมากน้อยแค่ไหน

หลักจากได้อ่านหนังสือ Flow: The Psychology of Optimal Experience และได้ฟังที่แอนแนะนำมา ผมได้นำมาใช้เสมอโดยเฉพาะวันหยุดเพื่อให้วันนั้นยาวขึ้น และหลอกสมองตัวเองในวันทำงาน โดยการหลอกสมองของผมคือ การกินกาแฟ และโฟกัสในงานที่ทำให้วันทำงานหมดไปไวที่สุด

 

 

แล้วคุณหละพร้อมลองใช้ ทฤษฎี flow หรือหลอกสมองตัวเองรึยัง

เรามาทำวันหยุดให้ยาวขึ้นและตื่นไปทำงานให้ได้ หลังจากนั้นก็ทำวันทำงานให้สั้นลง ทำได้หรือทำไม่ได้ยังงัย 

ลองมาคุยกันที่ [email protected]

เนื้อหาน่าสนใจในระดับใด

โปรดให้คะแนน

คะแนนเฉลี่ย 5 / 5. นับคะแนน 4

ยังไม่มีใครให้คะแนนเลย มาเป็นคนแรกที่ให้คะแนนกันเถอะ

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *