กรุงเทพฯ ประเทศไทย

เทคนิคการเล่าเรื่อง Storytelling: ผมเรียนรู้อะไรจากรายการเดอะช็อค

ghosts gespenter spooky horror 40748

ในขณะที่ผมกำลังเขียนบทความนี้ ผมกำลังฟังเรื่อง “ถุงแดง” จากรายการเดอะช็อคที่เล่าโดยคุณเอ็ม เป็นครั้งที่ 7 แล้ว ไม่ใช่เพราะว่าผมไม่มีเรื่องอื่นฟัง แต่เรื่อง “ถุงแดง” นี้เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่ผู้เล่าเล่าเรื่องได้ดีมากๆเรื่องนึง 

เหตุผลที่ผมชอบฟังรายการเดอะช็อคนั้น เริ่มต้นจากการที่ฟังแก้ง่วงและฆ่าเวลาในช่วงที่ทำงานเป็นเจ้าหน้าที่ทดสอบระบบของธนาคารแห่งนึง แต่ฟังจนหมดทั้ง Playlist ก็พบว่าสิ่งที่ได้จากฟังรายการเดอะช็อคนั้นนอกจากเพื่อแก้ง่วงและฆ่าเวลาแล้ว ทักษะที่ได้เรียนรู้คือ เทคนิคการเล่าเรื่อง Storytelling

 

 

รายการเดอะช็อคคืออะไร

เมื่อค้นหาใน wikipedia พบว่า

 

เป็นรายการวิทยุในรูปแบบ รายการ ผี วิญญาณ เรื่องราวเล้นลับ โดยจะเปิดสายสดหน้าไมค์ ให้ผู้ฟังทางบ้าน มาเล่าถึงประสบการ์ณอันน่าตื่นเต้นสยองขวัญ โดย มี “ป๋องหื่น” กพล ทองพลับ และทีมงาน ดำเนินรายการ. ปัจจุบัน “เดอะช็อค” จัดรายการอยู่คลื่น FM 101 R.R.ONE Radio Radio Report One ตั้งแต่เวลา 0:30 น.– 07.00น ทุกวัน จันทร์-อาทิตย์

 

ผู้ฟังทางบ้านในรายการเดอะช็อคที่เล่าเรื่องเก่ง

ผมสังเกตว่าเรื่องเล่าที่น่ากลัวหรือฟังแล้วสนุกนั้น มักมาจากปากของผู้เล่าที่มีเทคนิคการเล่าเรื่อง Storytelling ที่ดี ตัวอย่างคนที่เล่าได้ดีจนมีชื่อเสียง ได้แก่ คุณเอ็ม คุณหนุ่ม คุณคิง คุณหมี คุณเต้ คุณชิว และ ป้าแมว เป็นต้น

 

อยากฟังตัวอย่างเรื่องเล่า

จากตัวอย่างผู้ฟังทางบ้านข้างต้น ผมขออนุญาตแปะลิ้งค์ไปยัง Youtube ดังนี้

 

เทคนิคการเล่าเรื่อง Storytelling

การจะเล่าเรื่องได้น่าฟังนั้นต้องมีเทคนิคที่ดี ผมได้ลองค้นหาใน Google พบว่ามีบทความที่เขียนได้ละเอียด ชื่อว่า Storytelling Part 1: 8 คลาสสิคเทคนิค ในการสร้างวิธีการเล่าเรื่องเพื่อสร้าง Engagement โดย unlockdigital มีความละเอียดและยกตัวอย่างได้ดี 

 

อย่างไรก็ตามในบทความนี้ผมขอสรุปเทคนิคการเล่าเรื่อง Storytelling ที่ดี โดยที่มาจากความเห็นส่วนตัวโดยที่ไม่มีหลักวิชาการอ้างอิง เทคนิคการเล่าเรื่อง Storytelling ที่ดีนั้นประกอบไปด้วย 3 ปัจจัยหลักๆ ดังนี้

 

  1. หัวข้อเรื่องน่าสนใจ: โดยให้คนฟังเดาเรื่องว่า กำลังจะได้ฟังเรื่องอะไร ถ้าชื่อเรื่องน่าสนใจก็จะดึงดูดให้ผู้ฟังสนใจในเนื้อหาตั้งแต่แรกเห็น ในเรื่อง “ถุงแดง” นั้นหักมุมที่ว่า “ถุง” เป็นถุงใส่ศพ ไม่ใช่ ถุงเล็กๆขนาดพกพา
  2. น้ำเสียง: ผู้เล่าต้องซ้อมเล่าจนคล่อง เล่าเรื่องอย่างมั่นใจ ไม่มีคำที่แสดงให้เห็นถึงความไม่มั่นใจ เช่น เอ่อ อ่า แบบนี้อย่างนี้ นะครับๆๆๆ…
  3. เล่าเรื่องกระชับๆตามโครงเรื่อง: การเล่าเรื่องนั้นมีโครงสร้างดังนี้ เริ่มเกริ่นนำ เนื้อหา และ สรุป โดยการเล่าควรจะเล่าอย่างกระชับ ตามเวลาที่มีในการเล่าเรื่องนั้นๆ การเล่าเรื่องนั้นยากมาก เพราะเนื้อหาที่มีกับระยะเวลาที่สามารถเล่าได้นั้นมักจะสวนทางกัน ผู้เล่าควรจะรู้ว่าจะเล่าเน้นส่วนไหนและเล่าผ่านๆส่วนไหน ไม่ควรที่จะเล่าเก็บทุกรายละเอียด เพราะผู้ฟังจะเบื่อ

 

การเล่าเรื่อง Storytelling สำคัญแค่ไหน

การเล่าเรื่องนั้นมีความสำคัญทั้งในและนอกเวลางาน ในเวลางานนั้นจำเป็นต้องใช้ทักษะนี้ในการนำเสนองาน ติดต่อประสานงาน ขอยกตัวอย่างบทความ Storytelling ทักษะที่จำเป็นสำหรับผู้นำให้ลองได้อ่านดูกัน  ในส่วนนอกเวลางานนั้น การเป็นคนที่พูดรู้เรื่อง เล่าเรื่องเป็น ถือเป็นสเน่ห์อย่างนึง ทำให้เป็นคนน่าคบหา ไว้ใจได้ และสามารถปรึกษาได้

 

ณัฐวุฒิเล่าเรื่อง Storytelling เก่งมั้ย?

ส่วนตัวผมได้รับหน้าที่นำเสนองานตั้งแต่สมัยเรียนปริญญาตรี และได้รับการฝึกฝนในโรงเรียนธุรกิจอีกครั้ง จนกระทั่งได้นำมาใช้จริงในการทำงาน ผมมั่นใจว่าการเล่าเรื่องนั้นเป็นหนึ่งในทักษะที่ผมมี เพื่อนๆมักบอกเสมอว่า ผมเป็นคนที่เล่าเรื่องสนุก

 

แล้วคุณหละ… ชอบฟังเดอะช็อคหรือว่าชอบเล่าเรื่อง Storytelling มั้ย?

ถ้าคุณชอบฟังเดอะช็อคลองส่งเมลมาคุยกันดีไหมครับว่าเรื่องไหนน่ากลัวสำหรับคุณ และถ้าไม่ชอบฟังรายเดอะช็อค เราลองมาแชร์เทคนิคการเล่าเรื่อง Storytelling กันดีมั้ยครับ
ณัฐวุฒิ

[email protected]

เนื้อหาน่าสนใจในระดับใด

โปรดให้คะแนน

คะแนนเฉลี่ย 5 / 5. นับคะแนน 2

ยังไม่มีใครให้คะแนนเลย มาเป็นคนแรกที่ให้คะแนนกันเถอะ

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *