กรุงเทพฯ ประเทศไทย

เขียนอย่างไรไม่ให้ผิด

pexels photo 316466 1

งานจัดขึ้น ณ อุทยานการเรียนรู้ TK park ในวันอาทิตย์ที่ 24 ก.พ. 2562 ระหว่างเวลา 14:00 – 16:00 น. ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในงาน TK Young Writer 2019

TK young Writer 2019 – WRITE ON เชิญชวนเยาวชนอายุ 16-23 ปี เข้าร่วมอบรมเพื่อฝึกฝนทักษะด้านการเขียน โดยมีนักเขียนชื่อดังมาชี้แนะ อาทิ วีรพร นิติประภา, วิภว์ บูรพาเดชะ (happening), จักรพันธุ์ ขวัญมงคล , จิรเดช โอภาสพันธ์วงศ์ (The Cloud), ศิวะภาค เจียรวนาลี (a day) และ Studio Dialogue เยาวชนที่ผ่านคัดเลือกจะได้เข้าค่ายอบรม ระหว่างวันที่ 6-9 มิถุนายน 2562 โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ

เขียนอย่างไรไม่ให้ผิด โดยคุณเปิ้ล เบญจวรรณ แก้วสว่าง

คุณเปิ้ลทำงานพิสูจน์อักษรมา 10 กว่าปี เคยพิสูจน์อักษรนิตยสาร aday และ abook โดยเล่าว่าเนื้องานคือการตรวจคำผิดในหนังสือ นอกจากนี้ยังตรวจเรื่องความถูกต้องของข้อมูลด้วย อาทิ การรันเลข layout


รู้จัก 15 เรื่องราวของคนที่มีอีกชีวิตเข้ามาเปลี่ยนวันของพวกเขาไปอย่างสิ้นเชิง ทั้งหญิงสาวที่สามีและลูกป่วยด้วยโรคร้าย เด็กหญิงผู้กลายเป็นไอดอลเพราะไอดอล หรือหญิงสาวที่สูญเสียแม่ แต่ได้ชีวิตใหม่มาแทน เพราะคนเราเปลี่ยนแปลงกันและกันเสมอ #
aday222
#
alifethatchangedmyday

ผู้พูดให้ทำแบบฝึกหัดจากการหาคำผิดในคอลัมน์ดูดวง หลังจากนั้นให้ผู้ฟังได้ลองตรวจคำผิด ผู้พูดเน้นบรรยายในครั้งนี้ด้วย 5 ข้อ โดยเน้นย้ำว่าไม่ใช่การสอนภาษาไทยแต่ต้องเช็คและอัพเดตตลอดเวลา

1. ให้สงสัยอยู่เสมอว่าเราเขียนถูกต้องหรือไม่ อย่ามองข้ามคำง่าย

คำง่าย ๆ ที่ได้ยินทุกวัน หากไม่เอะใจก็จะพลาดง่าย ๆ เช่น คำว่า

  • ปราณี (ชื่อคน)
  • ปรานี (ความสงสาร)
  • เลิกรา
  • ร้างรา
  • ใย
  • ไย
  • กะพริบตา
  • กะเพรา

รวมถึงที่ผิดบ่อย คือ นะค่ะ แหน่ะ หล่ะ แหล่ะ สิ่งเหล่านี้แสดงถึงความใส่ใจในงานที่ทำ

คำว่า ปราณี (ชื่อคน) ปรานี (ความสงสาร) เลิกรา ร้างรา ใย ไย กะพริบตา กะเพรา เป็นต้น รวมถึงที่ผิดบ่อย คือ นะค่ะ แหน่ะ หล่ะ แหล่ะ สิ่งเหล่านี้แสดงถึงความใส่ใจในงานที่ทำ

2. ตรวจสอบคำที่ถูกต้องจากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน .. 2554

สามารถตรวจสอบทั้งจากเว็บไซต์ แอพพลิเคชั่น

3. ความถูกต้องของข้อมูลเฉพาะเป็นเรื่องสำคัญ

เช่น ชื่อหน่วยงาน ชื่อบุคคล ชื่อสถาบัน ตำแหน่ง ที่อยู่ ศัพท์วิชาการ โดยหาแหล่งอ้างอิงจากเจ้าของข้อมูลโดยให้เขาจด หรือขอนามบัตรเอาไว้ ต้องกล้าถามไม่ต้องกลัวเสียฟอร์ม

คุณเปิ้ลเล่าว่า มีนักดนตรีท่านหนึ่งมีชื่อนามสกุลที่เคยลงหนังสือและสื่อต่าง ๆ นั้นมี 2 แบบ จึงไปเอาชื่อในบัตรประชาชนของเจ้าตัว แต่ชื่อก็ยังผิด เพราะเจ้าตัวเปลี่ยนชื่อมาใหม่ อีก

กรณีหนึ่งคือ คุณอิ๊ง แต่เมื่อไปถามทีมงานพบว่าต้องเขียนว่า อิ้งค์ เนื่องจากเป็นชื่อเฉพาะและเจ้าตัวยืนยันในข้อมูล

อีกตัวอย่างหนึ่ง คือ ถ้าเป็นชื่อหน่วยงาน เช่น TK park ไม่ใช่ TK Park เนื่องจากเป็นชื่อทางการค้า

4. คำซ้ำ คำฟุ่มเฟือยที่พบบ่อย ควรตัดออก

  • มัน เขา
  • ที่ ซึ่ง อัน
  • ประมาณว่า
  • คือแบบ คือว่า
  • ฯลฯ

5. ในหนังสือทั้งเล่มควรจะมีหลักการใช้คำในแบบเดียวกัน

เนื่องจากบางคำสามารถใช้ได้มากกว่า 1 แบบ เช่น

  • ปกติ ปรกติ
  • สมมติ สมมุติ
  • วิกฤต วิกฤติ
  • ล่ำลา ร่ำลา

ต้องถามคนในหน่วยงานว่าในหน่วยงานของเราจะเขียนแบบใด นอกจากนี้ควรอ่านเยอะ ๆ เพื่อให้เห็นการเขียนและการใช้คำหลาย ๆ แบบจะทำให้ฉุกคิดขึ้นมาได้

แอพพลิเคชั่นที่ควรมีไว้ใช้งาน (โดยราชบัณฑิตฯ)

1.  Royal Society mobile (พจนานุกรม)

2.  Read and Write (อ่านอย่างไร เขียนอย่างไร)

3.  ชื่อบ้านนามเมือง

4.  ภาษาอาเซียน

วิภว์ บูรพาเดชะ บรรณาธิการ นิตยสาร Happening เล่าถึงชีวิตนักเขียน

ชีวิตวัยเด็ก

คุณวิภว์เล่าว่า ตอนเด็ก ๆ ชอบอ่านหนังสือในห้องสมุดโรงเรียน โดยเริ่มจากนิยายภาพจนขยับขยายไปอ่านหนังสือที่มีตัวอักษรเยอะ นอกจากนี้ผู้พูดได้รับแรงบันดาลใจจากนิสัยรักการอ่านของคุณพ่อคุณแม่ จนหนังสือเต็มบ้าน

จัดสรรเวลาในการเขียนเรื่องสั้น

ผู้พูดเลือกเรียนสาขาสถาปัตยกรรมจากการแนะนำของอาจารย์แนะแนว แต่ก็พบว่าไม่ได้ตรงตามที่คาดหวังเอาไว้มากนัก เมื่อเรียนจบ พ.ศ. 2538 เป็นช่วงที่เศรษฐกิจเติบโตมาก ระหว่างทำงานก็เริ่มเขียนเรื่องสั้นโดยใช้เวลาว่างจากการทำงานประจำ โดยศึกษาจากนิตยสารต่าง ๆ มีหนังสือชื่อ ช่อการะเกด ที่ส่งเสริมให้ผู้เขียนหน้าใหม่ส่งเรื่องมาลงในหนังสือดังกล่าว ผู้พูดเล่าว่า คุณวินทร์ เลียววาริน เเจ้งเกิดจากหนังสือเล่มดังกล่าวด้วยเรื่องสั้นเรื่องแรกที่เขียน คือ เรื่องโอกาส แต่ได้ลงในหนังสือเครืออื่น แม้ว่าจะไม่ประสบความสำเร็จมาก แต่ก็เต็มไปด้วยความภาคภูมิใจ

หลังจากนั้นก็ได้ลงในหนังสือชีวิตชีวา ชื่อเรื่องว่า กับดัก แม้กระทั่งแพรว ทำให้หลังจากนั้นผู้พูดได้ติดต่อกับ บก. ของนิตยสารแพรวโดยตลอด สังเกตว่าเรื่องที่เขียนนั้นเริ่มมาจากสิ่งที่อยู่รอบตัว อาทิ เรื่องคนเมือง ชีวิตสถาปนิก โดยใช้เวลาเรื่องละ 1 – 3 เดือน ผ่านการเขียนด้วยลายมือ และพิมพ์ลงคอมฯ แล้วแก้ไขหลาย ๆ เวอร์ชั่น

สาวก เจมส์ จิ “แพรว” เล่มนี้พลาดไม่ได้ด้วยประการทั้งปวง

มีอยู่เรื่องนึงที่ส่งไปที่ มติชน และ แพรว ทำให้เกิดการลงซ้ำกัน ผู้พูดจึงเล่าว่าได้โทรไปที่มติชนว่าไม่ขอรับค่าเรื่องสั้นที่เขียนเพราะแพรวได้ตีพิมพ์ไปแล้ว เรื่องนี้ผู้พูดภูมิใจเพราะได้งานทั้ง 2 เวที

ต้มยำกุ้งทำให้เปลี่ยนสายงานจนเป็นนักเขียน

ในปี พ.ศ. 2540 ที่เกิดต้มยำกุ้ง ทำให้อสังหาริมทรัพย์รวมทั้งสถาปนิกได้รับผลกระทบเต็ม ๆ หลายคนจึงย้ายสายงานไปเป็นอาจารย์ ทำรายการโทรทัศน์ หรือแม้กระทั่งโดนเลย์ออฟ ผู้พูดต้องย้ายไปสายงานการตลาดแทน โดยไปทำที่ห้าง Futuremart เป็นนักการตลาด โดยอาศัยความชอบในหนังสือ มาจัด bookfair ในห้าง

10 วงดนตรีดังจากค่าย Music Bugs – YouTube

เนื่องจากสถาปนิกไม่มีงานให้ทำในกรุงเทพฯ จึงคิดว่าผู้พูดยังได้แต่งเพลงกับเพื่อน ๆ ในสมัยเรียน ผู้พูดหันไปลองทำงานในวงการเพลง ตอนนั้นมีค่ายเพลง musicbug ผู้พูดได้ส่งผลงานไป ทางค่ายเพลงฯ จึงเรียกไปคุยที่แถวสุขุมวิท ร่วมกันกับผู้สมัคร 50 คน ทางค่ายเพลงฯ เรียกให้เข้าไปในห้องทีละ 20 คน แล้วถามว่าใครอยากเป็นศิลปิน มีคนในห้องเต็มไปหมดที่ยกมือ แล้วให้คนที่ไม่ยกมืออยู่ในห้อง สุดท้ายจึงเหลือคนที่เหมาะสมไม่กี่คนจนเหลือผู้พูดที่เป็น 1 ในนั้นด้วย จนได้ร่วมกันแต่งเพลงให้วงดนตรีหลายวง เช่น bodyslam ลาบานูน เป็นต้น วิธีการแข่งขันกันคือต่างคนต่างแข่งกันแต่งเพลงโดยวิธีการคอมเม้นท์งานคนอื่นสลับกันกับการถูกคอมเม้นท์

CS LOXINFO ชูฟีเจอร์ NGFW, Wireless IPS และ ClientMatch ของ HPE …
TechTalkThai

ได้มีการทำเว็บไซต์ โดยสมัครงานที่ Loxinfo โดยเอา Portfolio ไปสมัครตำแหน่ง Content Writer ตอนนั้นป็นเรื่องใหม่ ใครจะเขียน บก. ก็ให้เขียน

หลังจากนั้นก็ได้ย้ายมาที่ Grammy ระหว่างนั้นได้รู้จักพี่โหน่ง วงศ์ทนง ที่เคยเห็นผลงานของผู้พูดจึงชวนมาทำนิตยสาร Hamburger และพี่โหน่งก็รวมเรื่องสั้นให้กับผู้พูดที่มติชนออกทุนให้ เมื่อทำที่นิตยสารฯ ได้ 10 เล่ม จึงได้ตำแหน่งเป็นบรรณาธิการ แต่ก็ไม่รู้สึกเป็นกังวลแล้วเพราะได้มีประสบการณ์การทำหนังสือ


เป็นเจ้าของนิตยสารของตนเองชื่อ Happening

หลังจากเป็นบรรณาธิการได้ 6 – 7 ปี พบว่าเนื้อหาของ Hamburger ชนกันกับ aday จึงต้องย้ายไปทำด้านแฟชั่นแต่ไม่ถนัด จึงหันมาทำนิตยสารของตนเองชื่อว่า Happening เมื่อ 12 ปีที่แล้ว พบว่าการเป็นบรรณาธิการนั้นยากกว่าเป็นนักเขียนเพราะต้องดูภาพรวมธุรกิจด้วย

การทำหนังสือนั้นสื่อสาร content ได้ไม่มากพอ จึงเพิ่มเติมการทำ Event รวมถึงทำร้านค้า แม้กระทั่ง Social Network และการทำรายการโทรทัศน์ ดังนั้นการเป็นสื่อมวลชนไม่ได้จบลงที่หน้ากระดาษ

ปรับตัวรับมือกับขาลงของคนทำหนังสือ

เพราะค่าโฆษณาที่ขายได้นั้นมีแนวโน้มลงลดเรื่อย ๆ เมื่อไปที่สายส่งไปรับหนังสือที่เหลือคืนมา มีจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งเกิดขึ้นกับหนังสือทุกฉบับไม่ใช่แค่ Happening จึงต้องปรับตัวว่าการทำหนังสือ ไม่ใช่การเน้นความเร็ว เพราะอย่างไรก็แพ้ social media ต้องหันไปใช้กลยุทธ์

1.  เจาะเนื้อหาให้ลึก

2.  ให้เวลานักอ่านในการอ่าน เช่น ออกขายทุก 3 เดือน

3.  จัด Theme ให้ชัดในแต่ละเล่ม (เลือกกลุ่มเป้าหมาย) พร้อมของแถม อาทิ CD และบัตร Concert

ซึ่งก็เป็นกลยุทธ์ที่ได้ผล นอกจากนี้แล้วยังเปิดเว็บไซต์ happeningandfriends.com โดยเชื่อว่าเพื่อนกับ happening จะเติบโตไปด้วยกัน โดยเนื้อหามีทั้ง content ร้านค้าออนไลน์ รวมถึงรองรับ 4 ภาษา เพื่อขยายตลาดนานาชาติ

ผู้พูดเล่าว่าแม้จะเป็นขาลง แต่จะมองเป็นยุคทองก็ได้ เพราะมีพิ้นที่สำหรับนักเขียนหน้าใหม่ แต่ต้องทำงานให้สม่ำเสมอ เนื้อหาถูกต้อง และมีคุณภาพ

หากชอบเรื่องการเขียน ยังมีบทความอีกนะครับ

เนื้อหาน่าสนใจในระดับใด

โปรดให้คะแนน

คะแนนเฉลี่ย 0 / 5. นับคะแนน 0

ยังไม่มีใครให้คะแนนเลย มาเป็นคนแรกที่ให้คะแนนกันเถอะ

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *