
“Learn as much by writing as by reading. (Lord Acton)”
เมื่อกล่าวถึงทักษะการเขียน ดูเหมือนว่าจะเป็นทักษะที่แสนจะธรรมดา แต่จริงๆแล้วกลับมีความสำคัญไม่แพ้ทักษะการอ่านเลย
“โค้ชเกรียง” ผู้บริหารของ TheCoach (เดอะโค้ช)

ตัวผมเองได้มีโอกาสพบกับ “โค้ชเกรียงศักดิ์” หรือ “โค้ชเกรียง” ซึ่งเป็นผู้บริหารของ TheCoach (เดอะโค้ช) ซึ่งมีประสบการณ์โค้ชผู้บริหารระดับสูงแบบตัวต่อตัวมากกว่า 10 ปี ให้กับผู้บริหารระดับสูงในองค์กรชั้นนำ และยังมีผลงานคอลัมน์รายสัปดาห์ในหนังสือพิมพ์ Bangkok Post ชื่อคอลัมน์ Bridging the Gap ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับภาวะผู้นำและการสื่อสารอีกด้วย
“โค้ชเกรียง” ฝึก 8 สัปดาห์ ด้วย 3 ขั้นตอน

“โค้ชเกรียง” เป็น Mentor หรือ โค้ช ในชีวิตการทำงานของผม โค้ชเกรียงบังเอิญได้เห็นบทความในเว็บไซต์ส่วนตัวของผม จึงให้โอกาสผมในการฝึกทักษะการเขียนทั้งหมด “8 สัปดาห์” โดยที่การฝึกสอนของโค้ชเกรียงนั้นมี 3 ขั้นตอนดังนี้
- นัดหมายให้โทรไปหาทุกสัปดาห์พร้อมคำถามที่อยากรู้ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง
- หลังจากการสัมภาษณ์โค้ชแล้ว ก็จะนำมาเขียนบทความและส่งให้โค้ชฟีดแบค (Feedback) กลับมา
- นำไปลง Facebook Page TheCoach.in.th รวมทั้งหมด 8 บทความ https://www.facebook.com/TheCoachinth/
ในช่วงแรกการเขียนและการสัมภาษณ์เป็นไปด้วย “ความเก้ๆกังๆ” ของผม แต่แล้วเมื่อผ่านไป 2 -3 บทความ แล้วทุกอย่างก็ดูลื่นไหลเป็นธรรมชาติมากขึ้น และนี้คือบทความทั้งหมดครับ [สามารถกดอ่านดูได้นะครับ]
- ในฐานะพนักงานควรถามอะไรในงาน Town Hall
- ทำอย่างไรเมื่อเป็นผู้จัดการที่ต้องดูแลคนที่อายุมากกว่า
- ฟังให้เก่งขึ้นด้วย “การฟังอย่างตั้งใจ”
- เทคนิคในการรับมือกับ “คำถามที่ยากที่จะตอบ”
- ขจัด Ego เพื่อโค้ชชิ่ง (Coaching) ตัวเอง
- ฝึกทักษะการตัดสินใจอย่างไรเพื่อให้สามารถเป็นผู้นำที่ดีได้ในอนาคต
- เมื่อต้องทำงานกับคนที่ “จริต” แตกต่างกับเรามาก
- วิธีการเรียนรู้ภาวะผู้นำ (Leadership) ของหัวหน้า
การ “อ่านออกเสียง” ทำให้ทักษะการเขียนดีขึ้น

โดยที่หลังจากที่ฝึกเขียนบทความทั้งหมด 8 สัปดาห์แล้ว จึงขอบอกเทคนิคที่จะทำให้การเขียนนั้นดีขึ้นกว่าเดิมมาเปิดเผยที่นี่เป็นครั้งแรก โดยที่เทคนิคนั้นง่ายๆ แต่ทรงพลังคือ
เมื่อเขียนเสร็จแล้วให้ตรวจ โดยการ “อ่านออกเสียง”
ไม่ใช่การดูด้วยตาแล้วอ่านในใจ โดยที่การตรวจงานเขียนด้วยวิธีการดังกล่าวจะทำให้การตรวจงานเขียนมีประสิทธิภาพ เพราะงานเขียนชิ้นนั้นๆ จะมีคำผิดน้อยลงกว่าเดิม รวมถึงภาษาที่ใช้ก็จะลื่นไหลมากขึ้นด้วย

นอกจากทักษะด้านการเขียนแล้ว สิ่งที่ได้จากการฝึกทักษะการเขียนกับโค้ชเกรียงศักดิ์ (TheCoach) คือ แนวคิดและประสบการณ์ที่ได้รับจากการตอบคำถามของ “โค้ชเกรียง” นั่นเอง
ผมเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่าบทความนี้ทำให้ผู้อ่านเกิดแรงบันดาลใจในทั้งการฝึกทักษะการเขียน การหา Mentor หรือ โค้ช ในชีวิตการทำงานให้เจอ

เกี่ยวกับโค้ชเกรียงศักดิ์:
http://thecoach.in.th/about/kriengsak/