กรุงเทพฯ ประเทศไทย

จะเสพข่าว…ต้องเสพอย่างระมัดระวัง

pexels photo 902194 1

ในยุคนี้ข่าวสารมีให้เลือกอ่านกันอย่างล้นหลาม อันเป็นผลสืบเนื่องจากต้นทุนการผลิตที่ไม่ได้สูงมาก รวมถึงขั้นตอนก็ไม่ได้ยุ่งยากเหมือนแต่ก่อน จนกลับกลายเป็นการเปิดโอกาสให้ข่าวสารนั้นถูกบิดเบือนอย่างน่าใจหาย

ผมมองตัวเองย้อนหลังกลับไปในปี พ.ศ. 2559 – 2560 โดยประมาณ ขณะนั้นผมทำงานอยู่ภาคเอกชน และเป็นช่วงที่ “อิน” มากกับการด่ารัฐบาล เวลามีข่าวออกมาให้เห็นตามสื่อโซเชียลมีเดีย (Social Media) ต่าง ๆ ด่าเหมือนที่หลายท่านกำลังทำกันหลังจากเห็นข่าว


วันนั้นผมด่ารัฐบาลเรื่องการซื้อเรือดำน้ำ …

หากนึกภาพไม่ออกว่า ผมด่าประมาณไหน?

ขอให้ดูข่าวล่าสุดที่ผมเห็นมีการพูดถึงกันอย่างสนุกปากและเต็มไปด้วยอารมณ์ …

เมื่ออ่านหัวข้อข่าวนี้แล้ว หลายท่านอาจจะคิดหลากหลายแบบ แต่แน่นอนว่าคงหนีไม่พ้นประโยคที่อันจะได้เห็นดัง comment ต่อไปนี้

ผมอ่านแล้วก็สะใจดีครับ เพราะใช้อารมณ์อ่าน

ถ้าจะใช้เหตุผลพิจารณาอย่างถี่ถ้วน ผู้อ่านอาจจะพบความจริงของเรื่อง ๆ นี้ ดังความเห็นหนึ่งที่ทำสำเร็จ …

ผมอ่านแล้วก็เห็นด้วย เพราะใช้เหตุผลอ่าน

ยูทูปเถอะครับท่าน คลิปสอนก็อัพลงให้หมด
ถ้าเป็นแบบฝึกหัด หรืออีบุ๊ค ก็เอาไปวางบน cloud
ให้ครูแต่ละท้องที่โหลดกันเองเลย

แอดมินเพจเพจหนึ่ง

ส่วนตัวผมเองเมื่อเห็นข่าวแล้วก็พิจารณาว่า ที่ “ขุนคลัง” ไม่ได้ใช้ Youtube หรือระบบ Cloud เพราะว่าประเทศไทยมีพื้นที่กว้างมากครับ

ประเทศไทยไม่ได้มีแค่ …

กรุงเทพฯ หรือ ปริมณฑล

สัญญาณอินเทอร์เนตครอบคลุมทุกโรงเรียนทั่วประเทศแล้วหรอ ?

ผมตั้งคำถามนี้ในใจ
‘หมอธี’ ติดตามปัญหาอินเตอร์เน็ต ร.ร. โดย มติชน
วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2561 – 14:17 น.
https://www.matichon.co.th/education/news_829674

หมอธี เคยลงไปติดตามปัญหาอินเทอร์เน็ตตามโรงเรียน พบว่า …

ไม่ใช่ทุกโรงเรียนที่มีให้ใช้ และ บางโรงเรียนสัญญาณอินเทอร์เนตไม่เสถียร

นี่อาจจะเป็นคำตอบว่า ทำไม ขุนคลังไม่ใช้ Youtube หรือระบบ Cloud และหันไปใช้ ซีดี แทน แม้ว่ามันจะไม่ใช่เทคโนโลยีล่าสุดที่คนเขานิยมกัน แต่ ซีดี อาจจะเป็นวิธีหนึ่งที่ทำให้เด็กนักเรียนในท้องที่ที่ห่างไกลสามารถเข้าถึงการศึกษาได้

มาดูกันอีกซักตัวอย่างนะครับ ว่าการพาดหัวข่าวทำให้เหตุการณ์ถูกบิดเบือนอย่างไร ?

คราวนี้มาดูเรื่องนายกฯ กันบ้าง

เมื่อเวลา 10.30 น. วันที่ 5 พ.ย. ที่ทำเนียบรัฐบาล นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รมว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นำประชาคมวิจัยทั้งภาครัฐ เอกชนและ มหาวิทยาลัย 500 คน เข้าพบ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี

เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และรับมอบสมุดปกขาว BCG in Action: การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ด้วยเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว

ปรากฎว่าสำนักข่าวเอาไปพาดหัวได้แตกต่างกันอย่างมาก เหมือนเป็นงานที่จัดขึ้นคนละงาน

นายกฯ รับบริหารจนสมองเสีย ไทยมีทุกรส ย้ำสร้างหลักคิดใหม่ ปชช. ปัดนั่ง ปธ.อาเซียน

สำนักข่าวที่ 1

‘บิ๊กตู่’ รับเป็นทหารถูกด่าแล้วโมโห แต่เป็นนักการเมืองต้องทน หน้าด้านกว่าเดิม

สำนักข่าวที่ 2

บิ๊กตู่โวย ละครไทย ทำคนไม่ยอมฟังนายกฯ มีแต่ไม่สร้างสรรค์ ด่ากัน-แย่งสมบัติ

สำนักข่าวที่ 3

นายกฯ ยันรัฐหวังให้ประชาชนหลุดจากกับดักรายได้ปานกลาง

สำนักข่าวที่ 4

นายกฯ พบประชาคมวิจัยขอช่วยกันต่อยอด

สำนักข่าวที่ 5

ในบทความนี้ ผมขออนุญาตยกตัวอย่างให้เห็น 2 ข่าวที่ถูกบิดเบือนโดยการพาดหัวข่าว และอคติของผู้อ่าน ทำให้เนื้อหาข่าวที่แท้จริงเเทบจะไม่หลงเหลืออยู่เลย

อยากทราบเหลือเกินว่า ท่านผู้อ่าน อ่านมาถึงจุดนี้แล้ว เห็นด้วย หรือ ไม่เห็นด้วย อย่างไรกับเรื่องที่ผมได้กล่าวในข้างต้น ?

ผมเขียนเรื่องนี้ขึ้นมา ไม่ใช่เพื่อที่จะ …

  • ปกป้องรัฐบาล
  • ด่าแอดมินเพจ
  • ด่าประชาชน
  • ด่านักข่าว

ผมเขียนเรื่องนี้ขึ้นมา เพื่อที่จะแนะนำว่า …

  • ต้องพิจารณาความจริงในข่าวสาร
  • หาเหตุและผลของเหตุการณ์

แล้วท่านผู้อ่านจะมองเห็นโลกตามความเป็นจริง

เนื้อหาน่าสนใจในระดับใด

โปรดให้คะแนน

คะแนนเฉลี่ย 0 / 5. นับคะแนน 0

ยังไม่มีใครให้คะแนนเลย มาเป็นคนแรกที่ให้คะแนนกันเถอะ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *