เนื่องจากผมได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชาให้พยากรณ์อนาคต 20 ปี ผมจึงเลือกหัวข้อผลกระทบของ AI Chatbot ต่อการทำงานของหน่วยงานภาครัฐ วันนี้จึงนำมาเผยแพร่ให้อ่านกันครับ
อ่านบทสรุปผู้บริหาร (Executive Summary) คลิ๊กที่นี่
รายงานฉบับนี้ได้กล่าวถึงผลการศึกษาเรียนรู้และการพยากรณ์อนาคต 20 ปี ผลกระทบของหุ่นยนต์โต้ตอบแบบปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence Chatbot) ต่อการทำงานของหน่วยงานภาครัฐในประเทศไทย จากการวิเคราะห์เชิงปริมาณและเชิงคุณภาพพบว่าเป็นไปได้ใน 3 ฉากทัศน์ ดังต่อไปนี้
รายงานฉบับนี้ได้กล่าวถึงผลการศึกษาเรียนรู้และการพยากรณ์อนาคต 20 ปี ผลกระทบของหุ่นยนต์โต้ตอบแบบปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence Chatbot) ต่อการทำงานของหน่วยงานภาครัฐในประเทศไทย จากการวิเคราะห์เชิงปริมาณและเชิงคุณภาพพบว่าเป็นไปได้ใน 3 ฉากทัศน์ ดังต่อไปนี้
ฉากทัศน์ที่ 1 Worst Case Scenario หุ่นยนต์โต้ตอบแบบปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence Chatbot) ไม่สามารถใช้งานได้ตามวัตถุประสงค์ของผู้ที่ต้องการใช้งาน สร้างผลเสียต่อหน่วยงานของรัฐมากกว่าการสร้างผลดี อาทิ สร้างความเดือดร้อนเนื่องจากข้อมูลที่หุ่นยนต์โต้ตอบแบบปัญญาประดิษฐ์ให้แก่ผู้รับบริการนั้นไม่ถูกต้อง รวมถึงข้อมูลของรัฐที่อาจจะถูกลักลอบนำไปใช้โดยบุคคลที่ไม่พึงประสงค์ เป็นต้น
ฉากทัศน์ที่ 2 Moderate Case Scenario หุ่นยนต์โต้ตอบแบบปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence Chatbot) สามารถใช้งานได้แค่บางวัตถุประสงค์ของผู้ที่ต้องการใช้งาน สร้างผลเสียและสร้างผลดีต่อหน่วยงานของรัฐใกล้เคียงกัน โดยภาครัฐอาจจะสร้างหุ่นยนต์โต้ตอบแบบปัญญาประดิษฐ์ ได้แค่ใน 2 ระดับเท่านั้น คือ Artificial Narrow Intelligence (ANI) มีความสามารถและความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน และในระดับที่สองนี้คือ Artificial General Intelligence (AGI) มีความสามารถและความฉลาดเทียบเท่ามนุษย์ จึงสามารถช่วยเหลือหน่วยงานในรัฐในการตอบคำถามเฉพาะด้าน และคำถามทั่วไปได้ดีทัดเทียม กับตัวเจ้าหน้าที่รัฐ แต่ไม่ถึงระดับ Artificial Superintelligence (ASI) อันเป็นปัญญาประดิษฐ์ ที่มีสติปัญญาและความสามารถเหนือกว่าสมองมนุษย์
ฉากทัศน์ที่ 3 Best Case Scenario หุ่นยนต์โต้ตอบแบบปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence Chatbot) สามารถใช้งานได้ตามวัตถุประสงค์ของผู้ที่ต้องการใช้งาน สามารถช่วยเเบ่งเบาภาระการทำงานของเจ้าหน้าที่ภาครัฐทำให้การทำงานของหน่วยงานรัฐตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างรวดเร็วและประหยัดต้นทุนการจ้างบุคลากรของหน่วยงานโดยภาครัฐใช้โอกาสของการพัฒนาคอมพิวเตอร์เชิงควอนตัม (Quantum Computer) ทำให้ปัญญาประดิษฐ์นั้นประมวลผลได้ไวและราคาถูก และยังสามารถพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ในระดับสุดท้ายนี้ก็คือ Artificial Superintelligence (ASI) เป็นปัญญาประดิษฐ์ที่มีสติปัญญาและความสามารถเหนือกว่าสมองมนุษย์ที่ฉลาดที่สุดในเกือบทุกสาขาสามารถช่วยเหลือหน่วยงานรัฐในการแก้ไขปัญหาของประชาชนได้ดีกว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐ
จากฉากทัศน์ดังกล่าวผู้จัดทำเห็นว่าเพื่อให้หุ่นยนต์โต้ตอบแบบปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence Chatbot) สามารถใช้งานได้ตามวัตถุประสงค์ของผู้ที่ต้องการใช้งาน ผู้จัดทำจึงได้การเสนอกลยุทธ์ทางเลือกโดยมีเนื้อความโดยสรุปว่าภาครัฐต้องมีระบบการจัดซื้อจัดจ้างที่สอดคล้องกับธรรมชาติของการพัฒนาซอฟต์แวร์ นอกจากนี้แล้วควรคำนึงถึงความต้องการของประชาชนในฐานะผู้ใช้งานเป็นหลัก และการออกแบบหน้าตาของระบบนั้นต้องออกแบบโดยคำนึงถึงประสบการณ์ของผู้ใช้งานให้ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงหน่วยงานรัฐต้องทำการศึกษาผลกระทบให้รอบคอบก่อนการออกนโยบาย
Chatbot คืออะไร
อาจเรียกง่าย ๆ ว่า โปรแกรมตอบกลับอัตโนมัติสามารถมาใช้กับธุรกิจออนไลน์เพื่อการสื่อสารกับกลุ่มลูกค้าแบบเรียลไทม์
AI CHATBOT อาจะแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
AI CHATBOT อาจะแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
Rule – based chatbot: แชทบอทแบบตอบตามกฎ
AI – based chatbot: แชทบอทแบบปัญญาประดิษฐ์
Rule – based chatbot: แชทบอทแบบตอบตามกฎ
- มีตัวเลือกให้เลือก
- ตอบตามกฎ
AI – based chatbot: แชทบอทแบบปัญญาประดิษฐ์
- คุยได้อิสระ
- เหมือนโต้ตอบกันกับมนุษย์
ตัวอย่างการใช้ AI ในภาครัฐ (ในอนาคต)
ศูนย์ดำรงธรรม : ช่วยรับเรื่องร้องเรียน แยกประเภทตามความเร่งด่วน
ศูนย์รวมข้อมูลเพื่อติดต่อราชการ : ช่วยให้ข้อมูลประชาชนที่ต้องการติดต่อหน่วยงานราชการ
ศูนย์กลางให้ธุรกิจติดต่อราชการแบบเบ็ดเสร็จ : ช่วยให้รับเรื่องจากประชาชนและส่งต่อที่ยังหน่วยงานออกใบอนุญาต
ในอนาคตทางภาครัฐอาจจะนำ AI Chatbot มาช่วยงานของเจ้าหน้าที่รัฐได้ เนื่องจากในอนาคตขนาดของภาครัฐจะเล็กลง
บริษัทคนไทยพัฒนาแชทบอท (AI Chatbot)
ผมได้ติดต่อไปยัง บริษัท โรโบลิงโก้ จำกัดและผู้พัฒนาระบบ Zwiz.AI คือ คุณชนกานต์ ชินชัชวาล ทำให้ได้ข้อมูลปัจจุบันว่าในท้องตลาดมีบริษัทหลายแห่งที่ทางคุณชนกานต์ ได้พัฒนาระบบไว้ให้
การพยากรณ์อนาคต 20 ปี (Forecast)
แต่อย่างไรก็ตามข้อมูลดังกล่าวเป็นข้อมูลปัจจุบัน แต่การพยากรณ์อนาคตนั้นต้องอาศัยข้อมูลในอดีต
ผมจึงต้องอาศัยการค้นหาแนวโน้ม (Trend) โดย Google Trend รายละเอียดดังนี้
เมื่อจะนำเอาข้อมูลดังกล่าวมาพยากรณ์ก็พบประเด็นอีกว่า MS Excel ไม่สามารถพยากรณ์ได้ไกลมากถึง 20 ปี แต่โชคดีที่มีโปรแกรม R
โปรแกรม R นั้นต้องใช้ความรู้ในด้านการเขียนโปรแกรม ทำให้ผมติดต่อไปที่คุณวรธนะ งามตระกูลชล นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Scientist) และนักเขียนประจำ GrowthBee.com เพื่อขอความช่วยเหลือ และผมใช้เวลาเกือบ 5 เดือนในการเรียนรู้
ด้วยเหตุนี้ผมจึงนำเอาปัจจัยเชิงคุณภาพมาพยากรณ์อนาคต 20 ปีหลังจากนี้ทำให้ผมได้ผลลัพธ์ และเสนอข้อเสนอแนะดังนี้
ชมเอกสารนำเสนอ
คลิ๊กที่นี่